พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่      ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2    และสมเด็จพระศรี สุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพ   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2347   มีพระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทวาวงศ์"   เมื่อพระชนมายุครบ 21   พรรษาทรงผนวช ตามราชประเพณี     แต่เมื่อผนวชได้ 15 วัน  สมเด็จพระบรมชนกนาถพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็เสด็จสวรรคตโดยไม่ทันได้มอบราชสมบัติให้แก่ผู้ใดพระบรมราชวงศ์และเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ประชุมหารือและตัดสินใจอัญเชิญกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์  พระเชษฐาต่างพระมารดาซึ่งเจริญพระชันษา กว่าเจ้าฟ้ามงกุฎถึง 17 พรรษาขึ้นครองราชสมบัติ   พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้ามงกุฎจึงตัดสินพระทัย  ครองสมณเพศต่อไปอย่างไม่มีกำหนด เสด็จจำพรรษา ณ วัดสมอรายหรือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน ทรงมีฉายาขณะทรงเพศบรรพชิตว่า "วชิรญาณภิกขุ"
                    ช่วงเวลาระหว่างอยู่ในเพศบรรพชิต   พระองค์ทรงมีเวลาศึกษาศิลปะวิทยาการหลายแขนง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี โหราศาสตร์ ภาษาบาลี   จนทรงมีความรอบรู้ลึกซึ้งกว้างขวาง ทรงรอบรู้แตกฉานในพุทธศาสนาทรงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย  และตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ที่ชื่อว่า "คณะธรรมยุตินิกาย" เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทำให้คณะสงฆ์เก่า คณะมหานิกาย ตื่นตัวนับเป็นการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่กำลังเสื่อมโทรมในขณะนั้นด้วยทางหนึ่ง
                    ปีพ.ศ.2380 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งพระองค์เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร    พระองค์ได้ทรงเริ่มติดต่อสมาคมกับชาวต่างประเทศ ตั้งแต่พ่อค้าจนถึงหมอสอนศาสนามิชชันนารี ได้แก่ ศาสนาจารย์เจสซี่  แคสแวล ศาสดาจารย์ดีบี บรัดเลย์  และ ดร.เรโนลด์ เฮาส์ ถวายพระอักษรภาษาอังกฤษ    ความรู้และวิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของชาวตะวันตก อาทิเช่น วิชาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการแพทย์  ทรงสั่งซื้อ แท่นพิมพ์หินจากสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดพิมพ์บทสวดมนต์และตำราภาษาบาลีขึ้นหลายเล่ม นับเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกของคนไทย  ระหว่างทรงผนวชอยู่โปรดเสด็จฯ ธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้ทราบถึงสถานการณ์บ้านเมือง และความทุกข์สุขของราษฎรอย่างแท้จริง
                    ครั้น ถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุ-วงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ถวายบังคมทูลอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ   พระองค์จึงทรงลาผนวชรวมจำพรรษาได้ 27 พรรษาขณะนั้นมีพระชนมายุ 47 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ เมษายน พ.ศ.2394 โดยมีพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"   เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงตระหนักดีว่าต่างชาติกำลังแผ่ขยายอำนาจมาบริเวณใกล้เคียง ประเทศไทย   (สมัยนั้นเรียกว่า ประเทศสยาม)     ถึงเวลาต้องปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก ทรงปรับปรุงแก้ไขธรรมเนียมประเพณีเก่าๆ ที่ล้าสมัย  เช่นยกเลิกประเพณีเข้าเฝ้าตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ  เลิกไว้ผมทรงมหาดไทยทรงส่งเสริมให้เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดา เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ทรงตกลงยินยอมทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอารยประเทศ อนุญาตให้ประเทศมหาอำนาจตั้งสถานกงสุล มีนโยบายผ่อนหนักผ่อนเบาส่งผลให้ประเทศชาติรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจ ทำให้ชาวต่างชาติรู้จักพระองค์ ในนาม "คิงมงกุฎ" อย่างกว้างขวาง
ในปี พ.ศ.2398 สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ  ทรงส่ง เซอร์ จอห์น เบาวริง  เป็นราชทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงต้อนรับอย่างสมเกียรติ    ทรงสนทนาด้วยภาษาอังกฤษตลอดเวลา เป็นที่ปลาบปลื้มแก่ราชทูตยิ่งนัก  ถึงกับทูลว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรกในบูรพาทิศที่ตรัสภาษาอังกฤษได้ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด เกล้า ฯ แต่งตั้งคณะทูตไทยเชิญ พระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ  ไปถวายสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย  เป็นการเจริญทางพระราชไมตรีตอบแทน    นอกจากนั้นยังโปรดเกล้า ฯ ให้มีคณะทูตไทยเชิญพระราชสาสน์    และเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ แห่งฝรั่งเศส ทำนองเดียวกันด้วย  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกลไฟพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เรือรบกลไฟ เช่น เรือราญรุกไพรี ศรีอยุธยาเดช มหาพิชัยเทพ นับเป็นความสามารถของคนไทยสมัยนั้นจนรัฐบาลญี่ปุ่นเจรจาขอซื้อเรือรบกลไฟไปใช้    ทรงริเริ่มให้มีการจัดการฝึกทหารอย่างชาติยุโรป โดยจ้างนายร้อยเอก  อิมเป  เข้ามาจัดระเบียบทหารบก   ทรงให้ผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาทำแผนที่พระราชอาณาจักรด้านตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำโขง
เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เป็นประเภทเรือยอช์ททำด้วยไม้ ระวางขับน้ำ 600 ตัน  ความยาว 212 ฟุต กว้าง 20 ฟุต ปืนใหญ่ กระบอก เครื่องจักรข้าง ปล่อง ความเร็วสูงสุด 12 นอต  มีทหารประจำเรือ 90นาย
                    แต่เดิมนั้นคนไทยยังไม่มีนาฬิกาบอกเวลา  จะใช้กะลามะพร้าวลอยเจาะรูลอยในอ่างน้ำที่เรียกว่า  "นาฬิกา"  เมื่อน้ำไหลเข้ารูกะลาจนจมลงถือเป็น ชั่วโมง คนนั่งยามจะตีฆ้องบอกเวลากลางวันจึงเรียกว่า "โมง"  หากเป็นเวลากลางคืนจะใช้ตีกลองเรียกว่า"ทุ่ม" ซึ่งการแจ้งเวลาแบบนี้ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในปี     พ.ศ. 2401   โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยซึ่งตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังเป็นพระที่นั่งทรงยุโรปสูง ชั้นยอดบนสุดติดนาฬิกาขนาดใหญ่ ด้านใช้เป็นนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยมีพนักงานนาฬิกาหลวงเทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ เรียกตำแหน่ง "พันทิวาทิตย์และพนักงานเทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์ เรียกตำแหน่ง "พันพินิตจันทรา" ซึ่งพระองค์ได้ทรงริเริ่มทำขึ้นก่อนประเทศอังกฤษ22 ปี
                    นอกจากนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "หอชัชวาลเวียงชัย" ขึ้น ในบริเวณพระนครคีรี หรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี หอชัชวาลเวียงชัย เป็นกระโจมทรงกลม หลังคาประดับด้วยกระจกโค้ง   ห้อยโคมไฟมองเห็นได้ไกลจากทะเลใช้เป็นเสมือนประภาคารของนักเดินเรือที่จะเข้าอ่าวบ้านแหลมในเวลากลางคืนด้วย    พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ ใช้เป็นที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศ   โดยทรงสถาปนาเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก    ผ่านใกล้พระนครคีรีใช้เป็นเส้นแวงหลักของระบบเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้บูรณะหอดูดาว ชั้นในพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา    ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตามแบบเดิม พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งพิไสยศัลลักษณ์"
                    ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ปรากฏดาวหางดวงใหญ่ 3ดวงคือ ดาวหางฟลูเกอร์กูส์ ในปี พ.ศ. 2353 ดาวหางโดนาติ (Donati) ในปี พ.ศ.2401 และดาวหางเทบบุท (Tebbutt)  ในปี พ.ศ.2404ทำให้ชาวบ้านต่างหวาดกลัวเพราะเชื่อว่าเป็นลางร้าย พระองค์ทรงออกประกาศเตือนล่วงหน้าและทรงอธิบายอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีผู้คนเห็นกันทั่วโลกไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น
พระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ของพระองค์ปรากฏเด่นชัดขึ้น เมื่อทรงคำนวณว่าจะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ค่ำเดือน 10 ปีมะโรง หรือวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 เห็นได้ที่ ต.หว้ากอ   จ.ประจวบคีรีขันธ์ก่อนล่วงหน้าถึง  ปี ด้วยความรู้ทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชั้นสูงที่ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองกับระบบเวลามาตรฐานของไทยที่ทรงตั้งขึ้นโดยไม่มีหลักฐานว่ามีการคำนวณไว้ก่อนจากต่างประเทศ และยังแย้งกับตำราโหรของไทยว่าสุริยุปราคาไม่มีทางเห็นหมดดวง  วันศุกร์ที่ สิงหาคม พ.ศ.2411พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราช-วรเดชจากท่านิเวศน์วรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ(รัชกาลที่ 5)ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา  กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพาร จำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์
                    วันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยที่ 18 สิงหาคม 2411 เริ่มต้นอย่างไม่แจ่มใสนัก  อากาศปรวนแปร มีเมฆมากหนาและฝนตกประปรายตั้งแต่เช้าทุกคนกังวลใจเกรงว่าจะไม่ได้เห็นปรากฏการณ์จน อีก 10 นาที ก่อนเกิดสุริยุปราคา ท้องฟ้าเริ่มใสกระจ่างขึ้น ไม่มีผู้ใดแลเห็นสุริยุปราคาตอนเริ่มจับ ซึ่งทรงพยากรณ์ไว้ว่าคราส  เริ่มจับเวลา 10 นาฬิกา นาที รอถึงเวลา 10 นาฬิกา 16 นาที   เมฆจึงจางออกคราสจับมากขึ้นทุกทีท้องฟ้า  ที่สว่างอยู่เริ่มมืดสลัวลง จนเมื่อเวลา 11 นาฬิกา 20 นาที  ท้องฟ้ามืดลงจนมองเห็นดาวดวงสว่างได้ คราสจับ  เต็มดวงเมื่อเวลา 11 นาฬิกา 36 นาที 20 วินาที
 กินเวลานาน นาที 45 วินาที  ท้องฟ้ามืดจนเป็นเวลากลางคืน ไม่เห็นหน้าแม้ผู้อยู่ใกล้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ตรงตามเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ทุกประการ   หลังจากนั้น ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนคลายออกจากดวงอาทิตย์   จนเมื่อเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที45 วินาที คราสก็คลายออกสิ้น ท้องฟ้าสว่างเป็นเวลากลางวันดังปกติ        ปรากฏการณ์ครั้งนั้นพิสูจน์ให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงประสบความสำเร็จในการคำนวณสุริยุปราคาได้แม่นยำกว่านักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งคำนวณคลาดเคลื่อนไป นาที
                    ในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักโรคมาลาเรีย หรือไข้จับสั่นจึงไม่มีความระมัดระวังเรื่องนี้กันนักจนเมื่อถึงเวลา  เดินทางกลับมีคนจำนวนมากติดเชื้อไข้มาลาเรีย รวมทั้งคนงานที่ทำการก่อสร้างเรือนพักรับรองทั้งหลาย  ซึ่งอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานานในจำนวนนี้  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ และนักวิทยาศาสตร์อีก คน   ก็ติดเชื้อไข้มาลาเรียด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวค่อนข้างมีพระอาการหนักกว่าผู้อื่น เมื่อเสด็จฯ กลับถึงเมืองหลวงทรงอ่อนพระกำลังมากแล้ว แพทย์หลวงได้พยายามถวายการรักษาเท่าใดพระอาการก็ทรุดลงทุกที พระองค์ทรงประชวรอยู่ 37 วันก็   เสด็จสวรรคตเมื่อเวลาประมาณ 21 นาฬิกา คืนวันพฤหัสบดีที่ ตุลาคม 2411       สิริรวมพระชนมายุ 64 พรรษา ท่ามกลางความวิปโยค โศกสลดของเหล่าพสกนิกรของพระองค์
     จากเหตุการณ์สำคัญ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง   ทำให้ประชาชนชาวไทย  และทั่วโลกได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2525    เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี  คณะนักวิทยาศาสตร์ไทยและสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มีมติให้วันที่ 18สิงหาคม  เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ   และถวายพระราชสมัญญานามแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า  "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น